ป้ายหยุด ป้ายจอด 4

มีถาม-ตอบเกี่ยวกับป้ายหยุด ป้ายจอด มาฝากกันอีกหน่อยนึงค่ะ ครั้งนี้ก็เป็นตอนที่ 4

ข้อแนะนำ… อ่านคำถามและดูภาพประกอบ แล้วลองตอบเองก่อนนะคะ แล้วค่อยอ่านดูแนวคำตอบที่เราลงไว้ให้ค่ะ

 

คำถาม 25 จากป้ายนี้หมายความว่าอย่างไร?

คำตอบ
– จากป้ายนี้ไปทางขวามือสามารถจอดรถได้สูงสุด 24 ชั่วโมงในวันจันทร์ถึงศุกร์ ถ้าครบกำหนดเวลาต้องมาย้ายรถออกไป แต่ถ้าเป็นวันเสาร์อาทิตย์ สามารถจอดรถได้มากกว่า 24 ชั่วโมง แต่ห้ามจอดในวันที่ 1 ของทุกเดือน ช่วงเวลาตี 5 ถึง 8 โมง

 

คำถาม 26 จากป้ายนี้หมายความว่าอย่างไร?

คำถาม
– ตรงนี้จอดได้ 30 นาที โดยวางแผนที่ระบุเวลาเริ่มจอดด้วย
ถ้าหมดเวลาแล้วแต่ยังทำธุระไม่เสร็จ ก็ต้องมาขยับรถไปจอดที่อื่นและเปลี่ยนป้ายเวลาเริ่มจอดใหม่
ถ้าไม่มีป้ายจอดก็จอดไม่ได้ ถ้าจอดแบบไม่วางป้ายบอกเวลาเริ่มจอดก็โดนปรับ

 

คำถาม 27 จากป้ายนี้หมายความว่าอย่างไรบ้าง?

คำตอบ
– ห้ามขับเกิน 30 กม/ ชม จอดได้ครั้งละ 30 นาที ตั้งเวลาเริ่มจอด ใช้แผ่นใดย P-Skiva

 

คำถาม 28 จากป้ายหมายความว่าอย่างไรบ้าง?

คำตอบ
– ป้ายทางม้าลาย ป้ายบอกถนนเส้นนี้เป็นสายหลัก และป้ายให้จอดรถได้เฉพาะวันที่ 1 ของทุกเดือนเวลาระหว่าง 7-14 น. นอกนั้นจอดไม่ได้

 

คำถาม 29 ป้ายที่เห็นนั่นหมายความว่าอย่างไร?

คำตอบ
– Områdesmärke
>> ป้ายห้ามหรืออนุญาตภายในโซนหรือบริเวณเขตพื้นที่ต่างๆ
(เช่นรูปบนของภาพประกอบข้อความ)
ลักษณะ
ป้ายสี่เหลี่ยมพื้นสีเหลือง ขอบสีแดง ในพื้นที่สี่เหลี่ยมจะมีป้ายจราจรอื่นๆ อยู่ เช่นในภาพประกอบเป็น “ห้ามจอด” เป็นต้น นอกจากนี้อาจมีป้ายเสริมอื่น เช่น มีเวลาที่ห้าม หรือ อนุญาต ป้ายบอกว่าจอดได้เฉพาะพื้นที่กำหนด ป้ายบอกให้จ่ายค่าจอด เป็นต้น
สถานที่
ป้ายโซนประเภทนี้จะอยู่ปากทางเข้าโซนหรือบริเวณต่างๆ เช่น ปากทางเข้าโรงพยาบาล ปากซอย ปากทางเข้าหมู่บ้าน ปากทางเข้ารอบๆ ศูนย์การค้า เป็นต้น

ดูตัวอย่างเพิ่มเติมที่ https://korkortonline.se/teori/vagmarken/anvisningsmarken/e20/

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ OMRÅDESMÄRKE – ป้ายโซน (คลิก)

 

คำถาม 30 จอดได้ตอนไหนบ้าง? นอกเหนือเวลาที่กำหนดจอดได้หรือไม่อย่างไร?

คำตอบ
– บริเวณนี้มีที่จอดรถ 4 ที่ จอดสูงสุดได้ 2 ชั่วโมงระหว่างวันจันทร์-ศุกร์เวลา 09.00-18.00 น. และวันเสาร์หรือวันก่อนวันหยุดนักขัตฤกษ์ ระหว่าง 09.00-13.00 น. ให้วางแผ่นบอกเวลาเริ่มจอดไว้หน้ารถด้วย นอกเหนือจากวันเวลาดังกล่าวนั้นจอดได้นานกว่า 2 ชั่วโมง แต่ถ้าจอดเกินกว่าเวลาที่กำหนดหรือไม่วางแผ่นบอกเวลาเริ่มจอดก็จะถูกปรับ

 

คำถาม 31 จากป้ายที่เห็นหมายความว่าอย่างไร? จงอธิบาย

คำตอบ – ป้ายห้ามหยุดและจอด มีผลบังคับใช้บริเวณหน้าป้ายนี้

 

คำถาม 32 ป้ายนี้มีชื่อเรียกว่าอะไร? และจากภาพหมายความว่าอย่างไรคะ?

คำตอบ
Datumparkeringszon วันคู่ ห้ามจอดบนถนนฝั่งที่บ้านเลขที่ที่เป็นเลขคู่ วันคี่ห้ามจอดบนถนนฝั่งที่บ้านเลขที่ที่เป็นเลขคี่
ห้ามจอดบนถนนฝั่งบ้านเลขที่ที่เป็นเลข คู่ ในวัน คู่ เช่น 2 10 16 20 28 เป็นต้น ห้ามจอดบนฝั่งบ้านเลขที่ที่มีเลข คี่ ในวัน คี่ เช่น 1 7 11 15 19 21 เป็นต้น ช่วงเวลา 02-16 น. ในวันธรรมดา จ-ศ

สำหรับใครที่ยังไม่ได้ดูได้จากวีดีโอนี้นะคะ -> https://youtu.be/yA_j_hNpe9A

 

คำถาม 33 วันที่ 9 มกราคม เวลาตอนนี้ก็ 9.45 เราจะจอดตรงไหนได้หรือไม่? อย่างไร?

คำตอบ ต้องไปจอดฝั่งถนนบ้านเลขที่คู่ค่ะ

 


รวบรวมโดย Yui in Lund, Sweden

 

 

Advertisement

ป้ายหยุด ป้ายจอด 3

ตอนนี้ก็เป็นตอนที่ 3 ค่ะ ในหัวข้อเกี่ยวกับ ป้ายหยุด ป้ายจอด

ข้อแนะนำ… อ่านคำถามและดูภาพประกอบ แล้วลองตอบเองก่อนนะคะ แล้วค่อยอ่านดูแนวคำตอบที่เราลงไว้ให้ค่ะ

 

คำถาม 17 จอดได้ตอนไหน? อย่างไรบ้างคะ?

คำตอบ

– จอดได้ 1 ชั่วโมงบริเวณหน้าป้ายและต้องเสียค่าจอดในวันจันทร์ – ศุกร์ระหว่างเวลา 9-21 น. และในวันเสาร์หรือวันก่อนวันหยุดนักขัตฤกษ์ระหว่างเวลา 9-15 น. นอกเหนือเวลาที่กำหนดจอดได้มากกว่า 1 ชั่วโมง และไม่ต้องเสียค่าจอด

 

คำถาม 18 จอดได้วันไหนอย่างไรบ้าง? นอกเหนือเวลาที่กำหนดเป็นอย่างไร? 

คำตอบ
– จอดได้เฉพาะบริเวณที่กำหนดให้จอด จอดได้นานสูงสุด 4 ชั่วโมงและต้องเสียค่าจอดในวันจันทร์ – วันศุกร์ระหว่างเวลา 9-18 น. และวันเสาร์หรือวันก่อนวันหยุดนักขัตฤกษ์ระหว่างเวลา 9-15 น. และบริเวณนี้ใช้เป็นเขตบัตรจอดรถสีแดง กฏระเบียบนี้ใช้กับผู้ที่พักอาศัยที่จะจอดรถในบริเวณนี้ด้วย นอกเหนือเวลาดังกล่าว จอดได้นานกว่า 4 ชั่วโมงและไม่เสียค่าจอ

 

คำถาม 19 ป้ายเหล่านี้หมายความว่าอย่างไรบ้าง?

คำตอบ
– นับจากป้ายไปเป็นระยะ 0-15 เมตร ในวันจันทร์ – ศุกร์ ระหว่างเวลา 6-18 เป็นสถานที่จอดสำหรับรถบรรทุกขนส่งสินค้าเท่านั้น
รถอื่นห้ามหยุดห้ามจอดบริเวณนี้ นอกเหนือวันเวลาดังกล่าว รถอื่นจอดได้ 30 นาที

 

คำถาม 20

– ป้าย P แบบนี้หมายความว่าอย่างไร? ถ้าเราขับรถคันแดงมาจอดวันจันทร์ ตอน 7.00 น. ได้ไหม? ถ้าได้แล้วเราต้องย้ายรถเราอย่างช้าสุดตอนไหน?

คำตอบ
ป้ายนี้หมายถึงป้ายสำหรับที่จอดรถที่สามารถจอดได้
วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ จอดได้ 24 ชั่วโมงค่ะ
แต่ถ้าวันเสาร์
((วันก่อนวันหยุดนักขัตฤกษ์)) หรือวันก่อนวันแดง
และวันอาทิตย์
((วันหยุดนักขัตฤกษ์)) หรือวันแดง จอดได้นานเท่าไหร่ก็ได้ค่ะ

คำถามพวกนี้มักจะพบเห็นบ่อยๆ อย่าสับสนในคำถาม แค่อ่านคำถาม และดูป้ายดีๆค่ะ ถ้าไม่มีป้ายอื่นตามมา ความหมายตรงตัวของป้ายนี้คืออย่างที่บอกเลยค่ะ

ตอบโดย Dolly Thapanee Johansen

 

คำถาม 21 หมายความว่าอย่างไรบ้าง?

คำตอบ

– ที่จอดรถสำหรับผู้มาติดต่อหรือมาเยี่ยมผู้ที่พักอาศัยในตึกนี้(ตรงนี้เป็นอพาร์ทเม้นต์) จอดได้ทางซ้ายของป้ายได้นานสุด 8 ชั่วโมง ต้องวางบัตรบอกเวลาเริ่มจอดด้วย (p-skiva)มีผลบังคับใช้ทุกวัน และสำหรับผู้ที่มีใบอนุญาตจอดรถที่ยังใช้ได้อยู่ (ยังไม่หมดอายุ)

 

คำถาม 22 ตรงนี้หมายความว่าอย่างไรบ้าง?

คำตอบ
– ป้ายจอดรถเฉพาะจุดที่ทำเครื่องหมายไว้เท่านั้น จอดได้แค่ 30 นาที ในจันทร์ถึงวันศุกร์ระหว่างเวลา 9-18 น.
และวันเสาร์รวมถึงวันก่อนวันหยุดนักขัตฤกษ์รหว่างเวลา 9-13 น.
โดยต้องวางแผ่น p-skiva (บอกเวลาเริ่มจอด) นอกเหนือวันและเวลาดังกล่าวจอดได้มากกว่า 30 นาที

 

คำถาม 23 ป้ายนี้หมายความว่าอย่างไรบ้าง?

คำตอบ
– ป้ายสำหรับจอดรถได้ค่ะ จอดได้เฉพาะที่ที่ตีเส้นไว้ให้จอด และต้องเสียค่าจอด ช่วงเวลา 9-18 น. จ-ศ และ วันเสาร์หรือวันก่อนวันแดงระหว่างเวลา 9-15 น. แต่นอกเหนือจากวันเวลาดังกล่าว จอดฟรีค่ะ และกฏนี้มีผลบังคับใช้กับผู้ที่จอดรถที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ด้วย

 

คำถาม 24 หมายความว่าอย่างไร?

คำตอบ

– ป้ายให้จอดได้ 2 ชั่วโมง ในวันธรรมดา (จ-ศ) ระหว่าง 9-18 น. และวันเสาร์หรือวันก่อนวันแดง ระหว่าง 9-13 น. โดยใช้ P- skiva บอกเวลาที่เราเริ่มจอดและวางไว้หน้ารถในตำแหน่งที่เห็นได้ง่ายและชัดเจน

 


ถ้าต้องการทบทวนเนื้อหาเพิ่มเติมก็ลองไปดูได้ที่ลิ้งค์เหล่านี้นะคะ

 

รวบรวมโดย Yui in Lund, Sweden

 

ป้ายหยุด ป้ายจอด 2

มาดูคำถาม-คำตอบเกี่ยวกับป้ายหยุดป้ายจอดในตอนที่ 2 กันค่ะ

ข้อแนะนำ… อ่านคำถามและดูภาพประกอบ แล้วลองตอบเองก่อนนะคะ แล้วค่อยอ่านดูแนวคำตอบที่เราลงไว้ให้ค่ะ

 

คำถาม 9 เลี้ยวเข้ามาถนนนี้แล้ว เราได้ข้อมูลอะไรบ้างคะ? นอกจากตามป้ายแล้วต้องระวังอะไรเพิ่ม?

คำตอบ
– เสารที่ 1 ป้ายบนสุดบอกว่าขับโดยใช้ความเร็วที่ 30 กม/ชม และตรงบริเวณเสาแรกนี้เป็นที่จอดรถของผู้พิการจอดได้ 3 ชั่วโมง
– เสาที่ 2 ป้ายบอกรายละเอียดเกี่ยวกับการจอดรถ เสียค่าจอดตามเวลาทุกวันจัทร์ถึงศุกร์ 9-18 น. และวันเสาร์หรือวันก่อนวันหยุดนักขัตฤกษ์ 9-15 น. จอดได้เฉพาะที่มีเส้นกำกับไว้ที่บนพื้น รวมถึงผู้ที่อาศัยอยู่ระแวกนี้ ส่วนนอกเหนือเวลาดังกล่าวจอดได้ฟรี
– เสารที่ 3 ข้างหน้าไปมีป้ายเตือนระวังถนนเป็นคลื่น
– เสาร์ที่ 4 ข้างหน้าสุดเป็นทางแยกมีป้ายให้ทาง
ระหว่างที่ขับผ่านถนนนี้ต้องระวังรถที่จอดอยู่เผื่อใครเปิดประตูออกมา
จากภาพ ณ ขณะนั้นเราว่าถ้าเป็นเราจะจอดให้ทางรถที่กำลังขับออกมา เพราะว่าฝั่งของรถที่สวนมามีคนเปิดประตูออกมา เขาต้องการพื้นที่ในการหลบ และฝั่งเรามีพื้นที่ให้จอดหลบหรือรอได้ง่ายกว่า

 

คำถาม 10  ป้ายพวกนี้หมายความว่าอย่างไรบ้างคะ?

คำตอบ

– ห้ามหยุดรถ วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 18.00 – 23.00 และ
วันเสาร์ หรือวันก่อนวันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือวันก่อนวันแดง เวลา 18.00 – 23.00 และ
วันอาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือวันแดง เวลา 18.00 – 23.00
เวลาที่นอกเหนือจากข้างบนนี้ ห้ามจอด แต่สามารถหยุดรถเพื่อรับ หรือ ส่งผู้โดยสารได้ แล้วแต่สถานะการณ์
ป้ายนี้เป็นป้ายห้ามจากจุดที่ป้ายตั้งอยู่ ไปจนถึง ทางแยก หรือมีป้ายบอกเป็นอย่างอื่นค่ะ
ตอบไว้โดยคุณ Dolly Thapanee Johansen

(ห้ามหยุดรถ ก็คือทั้งไม่หยุดรถและไม่จอดรถ)

 

คำถาม 11 หมายความว่าว่าอย่างไรคะ?

คำตอบ
– วันจันทร์-ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.00-18.00 น. จอดรถได้นาน 5 นาทีเท่านั้น นอกเวลาดังกล่าวจอดได้ตามกฏป้าย P

 

คำถาม 12 จากป้ายหมายความว่าอย่างไร?

คำตอบ
– ที่สำหรับจอดรถมอเตอร์ไซค์ที่มี 2 ล้อ และรถ moped klass I ซึ่งไม่มีรถพ่วงข้าง (sidvagn)
– för tvåhjulig motorcykel och moped klass I utan sidvagn.


คำถาม 13 จากป้ายหมายความว่าอย่างไรบ้าง?

คำตอบ 
– จอดได้ 30 นาที และต้องเสียค่าจอดในเวลา 9-21 น. ในวันจันทร์ถึงศุกร์ และ เวลา 9-15 น. ในวันเสาร์หรือวันก่อนวันหยุดนักขัตฤกษ์ นอกเหนือเวลาที่กำหนดจอดฟรี และจอดได้นานกว่า 30 นาที

 

คำถาม 14 ป้ายนี้บอกอะไรคะ?

คำตอบ  อาคารสำหรับจอดรถ หรือ Parkeringshus ให้ขับไปตามที่ลูกศรชี้

 

คำถาม 15 ป้ายเหล่านี้ให้ข้อมูลอะไรเราบ้างคะ?

คำตอบ

– ป้ายห้ามจอด ตั้งแต่เวลา 8 – 12 น. ของวันที่ 1 ของทุกเดือน แต่หยุดรับ-ส่งได้ผู้โดยสารได้ ทั้งนี้แล้วแต่สถานการณ์ว่าเหมาะสมหรือไม่
ป้ายลูกศรเป็นป้ายบอกว่า ถนนนี้สำหรับเดินรถทางเดียวหรือวันเวย์

 

คำถาม 16 หมายความว่าอย่างไร?

คำตอบ
– ความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ป้ายจอดได้ 2 ชั่วโมง โดยใช้ P- skiva (ระบุเวลาเริ่มจอด) ในวันจันทร์ -ศุกร์ สามารถจอดรถได้ตั้งแต่ 9 -18 น.
และในวันเสาร์หรือวันก่อนวันหยุดนักขัตฤกษ์สามารถจอดได้ตั้งแต่ 9 -13 น. นอกเหลือเวลาดังกล่าวจอดได้มากกว่า 2 ชั่วโมง
และห้ามจอดระหว่างเวลา 5-8 น. ในวันที่ 3 ของทุกเดือน แต่สามารถหยุดรับ-ส่งคนได้


ถ้าต้องการทบทวนเนื้อหาเพิ่มเติมก็ลองไปดูได้ที่ลิ้งค์เหล่านี้นะคะ

 

รวบรวมโดย Yui in Lund, Sweden

 

ป้ายหยุด ป้ายจอด 1

สวัสดีค่ะ  ในซีรีส์ “ป้ายหยุด ป้ายจอด” นี้เราก็รวบรวมมาจากที่เราได้เคยลงถามใน “ใบขับขี่สวีเดน Körkort på thai” ค่ะ ก็มีที่เราตอบเองบ้างและมีสมาชิกหลายๆ ท่านในห้องดังกล่าวมาช่วยกันตอบไว้น่ะค่ะ

ถ้าใครอยากทบทวนเกี่ยวกับเรื่องนี้ก่อน เราก็มีลิ้งค์ต่างๆ มาให้ดังนี้ค่ะ

ข้อแนะนำ… อ่านคำถามและดูภาพประกอบ แล้วลองตอบเองก่อนนะคะ แล้วค่อยอ่านดูแนวคำตอบที่เราลงไว้ให้ค่ะ

คำถามที่ 1

1.1 จากภาพเราจอดได้วันไหน เวลาไหน และได้นานเท่าไหร่?
2.2 ถ้าเรามาถึงตรงนี้นอกเหนือวันและเวลาที่กำหนด เราจะจอดได้หรือไม่ อย่างไร?

คำตอบ
1 ตามภาพคือ 8.00-23.00 น. ของทุกวันจอดได้แค่ 30 นาที.
2 นอกเหนือเวลาที่กำหนดคือ 23.01-7.59 น. ของทุกวันจอดได้เกิน 30 นาที

 

คำถามที่ 2

2.1 จากป้ายสีน้ำเงินและลูกศรหมายความว่าอย่างไร?
2.2 หน้ารถตรงขอบถนนมีเส้นทึบสีเหลือง หมายความว่าอย่างไร?

คำตอบ

1. สามารถจอดหน้าป้ายตามกฏของป้าย P / ที่สำหรับจอดรถสิ้นสุดตรงป้าย P / ป้ายตัว P วันธรรมดาจอดได้มากที่สุด 24 ชั่วโมง ถ้าวันเสาร์อาทิตย์หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ ให้จอดได้ตลอดเวลา
2. เส้นสีเหลืองทั้งห้ามหยุดและห้ามจอดค่ะ
Förbud mot att stanna och parkera.

 

คำถามที่ 3 รถคันสีน้ำเงินนี้มาจอดรับส่งคนตรงนี้ได้หรือไม่ และเพราะอะไร?

คำตอบ

จากป้ายรถส่วนบุคคลห้ามหยุดห้ามจอดในบริเวณนี้ จากป้ายในระยะ 0-13 เมตรตรงนี้สำหรับรถบรรทุกจอดรับของส่งของเท่านั้น
เพราะฉะนั้นห้ามหยุดห้ามจอดรับส่งผู้โดยสาร

 

คำถามที่ 4 จากรูปเป็นป้ายบอกอะไร?  รถอะไรบ้างที่เข้าไปจอดได้?

คำตอบ

– Parkering สำหรับ miljöbilar จอดได้ทั้งซ้ายขวาของป้าย
– ลานจอดรถสำหรับรถที่สามารถใช้พลังงานไฟฟ้า สามารถจอดได้ทั้งสองด้านจากป้าย ตรงที่จอดสามารถชาร์ตไฟฟ้าให้รถได้

 

คำถามที่ 5 จากป้ายหมายความว่าอย่างไร

คำตอบ

เป็นที่จอดรถสำหรับผู้มาเยือน ให้เขียนเวลาที่มาเริ่มจอด สามารถจอดได้ 1 ชั่วโมง จอดทางด้านซ้ายมือของป้ายเป็นต้นไป. Europark เป็นผู้ดูแล

 

คำถามที่ 6 จากป้ายหมายความว่าอย่างไร

คำตอบ ที่จอดรถที่สถานีรถไฟ

 

คำถามที่ 7 

ป้ายนี้หมายความว่าอย่างไรบ้าง? ถ้ามานอกเหนือเวลาที่กำหนดจอดได้หรือไม่ อย่างไรคะ?

คำตอบ ภาพนี้ทั้งหมดคือ 6 คำสั่งค่ะ.
B4. Huvudled
B19.parkering
T16. Avgift med tidsangivelse.
ป้ายเสริม: Endast i markerade platser.
ป้ายเสริม: Även boendeparkering GK-A
T11b. Utsträckning både sidor av märket.
ป้ายทางเอก ปรกติห้ามจอดแต่มี ป้าย P มากำกับไว้จึงจอดได้ และมีป้ายเสริมสั่งให้เสียค่าจอด ในเวลาที่กำหนดไว้ (วันเวลา ดูที่ภาพประกอบ) นอกเหนือเวลาที่สั่งไว้จอดได้ฟรี. Övriga tid får du parkera fritt utan avgift.
และการจอดจะต้องจอดในบริเวณที่มีเครื่องหมายกำกับไว้ ตามภาพคือลูกศรชี้ไว้หน้าป้ายและหลังป้าย และรวมถึงผู้มี boendeparkering ด้วย
Boendeparkering คือผู้ที่มี folkbokföring ในเขตนี้และเป็นเจ้าของรถคันที่จะจอดอยู่นี้ และ Boendeparkering ให้คนที่อาศัยใน kommun นั้นขออณุญาติจากทางคอมมูนก็จะได้จ่ายในราคาที่ถูก.
ตอบโดยคุณ Watchara Zara
—หรือ—
– เป็นทางเอกแต่จอดได้วันธรรมดาระหว่างเวลา 9-18 น. วันเสาร์หรือวันก่อนวันแดง ระหว่างเวลา 9-15 น. และต้องเสียค่าจอดในวันเวลาดังกล่าว นอกเหนือเวลาดังกล่าวจอดได้ฟรี และต้องจอดในบริเวณช่องจอดรถ ทั้งหมดนี้มีผลบังคับใช้ทั้งหน้าป้ายและหลังป้าย

 

คำถามที่ 8 หมายความว่าอย่างไรคะ?

คำตอบ
– เสียค่าจอดตลอด 24 ชั่วโมงของทุกวัน และเครื่องจ่ายค่าจอดอยู่ทางจากป้ายไปทางขวามือเป็นระยะทาง 180 เมตร Q-park AB เป็นผู้ดูแลและหมายเลขโทรศัพท์ของบริษัทผู้ดูแล
—หรือ—
– จอดได้และเสียค่าจอดระหว่างเวลา 0-24 วันจันทร์-ศุกร์ และ (0-24) ในวันเสาร์หรือวันก่อนวันแดง และ 0-24 สีแดงคือวันอาทิตย์และวันแดงหรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ เครื่องจ่ายเงินค่าจอดอยู่ห่างออกไป 180 เมตร Q-park AB เป็นผู้ดูแล หากมีปัญหาให้ติดต่อตามหมายเลชโทรศัพท์ที่แสดงบนป้าย

 

Yui in Lund, Sweden

 

ป้ายจราจร – ถนนหนทางในเมือง 2

#ป้ายจราจรในเมือง

มาต่อกันในหัวข้อคำถาม-คำตอบเกี่ยวกับป้ายจราจรที่พบเห็นได้ในเมืองกันค่ะ

ข้อแนะนำ
อ่านคำถามและดูภาพประกอบ แล้วลองตอบเองก่อนนะคะ แล้วค่อยอ่านดูแนวคำตอบที่เราลงไว้ให้ค่ะ

คำถาม 10: ป้ายอันล่าง (เหลืองแดง) หมายความว่าอย่างไรคะ?

คำตอบ: ถนนเส้นนี้จำกัดความยาวของยานพาหนะหรือรถพ่วงที่จะสัญจรผ่านซึ่งต้องมีความยาวไม่เกิน 14 เมตรค่ะ (หรือพูดง่ายๆ ว่า ห้ามยานพาหนะหรือรถพ่วงที่ยาวเกิน 14 เมตรขับผ่าน)

ป.ล. ป้ายนี้อาจจะพบเห็นได้ไม่บ่อยนักในสวีเดน ถ้ามีก็มักจะพบในใจกลางเมืองหรือเมืองที่มีถนนแคบๆ หรือบนถนนที่คดเคี้ยวที่มีความโค้งมากๆ (เช่น โค้งหักศอก)

C18. Begränsad fordonslängd
Märket anger förbud mot trafik med fordon eller fordonståg över en viss längd. Längsta tillåtna längd anges på märket.
(ป้ายจะบอกว่ารถพ่วงหรือยานพาหนะความยาวสูงสุดเท่าไหร่ที่สามารถสัญจรผ่านไปมาบนถนนเส้นนั้นได้)


คำถาม 11: ให้เดาว่าป้ายอะไร? ตั้งอยู่ที่ไหนอย่างไร?

คำตอบ : Förbud mot infart med fordon (C1)
ป้ายห้ามเข้า ตั้งอยู่ตรงปากทางออกจากถนนที่มีทางเดินรถทางเดียว หรือ enkelriktad gata
หรือพูดอีกอย่างนึงได้ว่า อยู่ตรงท้ายซอยของถนนที่มีทางเดินรถทางเดียว หรือ enkelriktad gata


คำถาม 12: ป้ายส้มๆ จากในภาพให้ข้อมูลอะไรเราบ้างคะ?

คำตอบ: ป้ายบอกให้ขับอย่างระมัดระวัง ถ้าจะเลี้ยวซ้าย
เพราะถ้าเลี้ยวซ้ายไปจะมีงานก่อสร้างปรับปรุงถนนค่ะ


คำถาม 13: ป้ายนี้คือป้ายอะไรคะ?

คำตอบ: ป้ายชั่วคราวที่บอกทิศทางการเดินรถ -> ทางเบี่ยง
(บอกเส้นทางสำหรับเลี่ยงบริเวณที่มีงานก่อสร้างปรับปรุงถนน เป็นต้น)

F24-1. Färdriktning vid omledning
Märket anger färdriktning vid tillfällig omledning av trafik.


คำถาม 14: ป้ายนี้ให้ข้อมูลอะไรบ้างคะ?

คำตอบ: ห้ามรถที่มีความสูงเกิน 2,8 เมตร วิ่งผ่านทางด้านซ้ายของถนนเส้นนี้ (คิดว่า ระเบียงที่ยื่นออกมาทำให้ต้องจำกัดความสูงของตัวรถค่ะ) และทางด้านซ้ายของถนนก็มีป้ายฟ้าเหลืองบอกว่า มีสิ่งกีดขวางทางด้านซ้ายในภาพค่ะ


คำถาม 15: ตรงทางม้าลายนี้ ตามกฏจริงๆ แล้วคนขับรถยนต์ต้องทำอย่างไรบ้าง?

คำตอบ:
ถ้ามีคนกำลังจะข้ามถนนหรือกำลังข้ามถนน เราต้องหยุดรถให้คนข้ามถนนไปก่อน

เนื่องจากไม่ได้มีการห้ามจักรยานปั่นข้ามถนนบนทางม้าลาย จึงมีจักรยานปั่นข้ามถนนบนทางม้าลายให้เห็นได้ทั่วไป ถ้าเราขับรถมาเจอจักรยานกำลังจะปั่นข้ามถนนหรือกำลังปั่นข้ามถนนบนทางม้าลาย เราควรชะลอความเร็ว และ/หรือพร้อมที่หยุดรถ เพื่อให้จักรยานผ่านไปก่อน ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้อุบัติเหตุ

แต่จริงๆ แล้วคนปั่นจักรยานมีหน้าที่ให้ทางและระวังคนเดินข้ามทางม้าลายและรถยนต์ที่ขับผ่าน ถ้ามีรถขับมา จักรยานต้องหยุดให้รถผ่านไปก่อน

แต่ถ้าคนปั่นจักรยานปั่นมาถึงทางม้าลาย และลงจากจักรยานแล้วเข็นรถจักรยานเดินข้ามถนนบนทางม้าลาย คนขับรถยนต์ต้องหยุดให้เขาจูงจักรยานข้ามถนนไปก่อน

อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ (หัวข้อ Övergångsställe – ทางม้าลาย)


คำถาม 16: ขับรถมาตามซอยหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่ง มาถึงตรงนี้ต้องทำอย่างไรบ้าง?

คำตอบ: ชะลอความเร็วลง แล้วมองทางขวามือว่ามีรถมาหรือไม่ ถ้ามีเราต้องให้ทางรถจากทางขวาไปก่อน (ใช้กฎขวามือ) ถ้าไม่มีก็ขับไปตามทางที่เราต้องการ

(ป.ล. แยกที่ใช้กฏขวามือส่วนใหญ่จะเป็นแยกตามซอยเล็กๆ แยกตามหมู่บ้าน แยกตามทุ่งนา หรือทางแยกที่ไม่มีป้ายบอกว่าเราควรหรือต้องทำอะไรอย่างไรน่ะค่ะ)


คำถาม 17: ก่อนจะขับรถเข้าวงเวียน ถ้ามีรถพ่วง หรือรถบัสตีคู่มากับเราหรือนำหน้าเราเล็กน้อย เราควรทำอย่างไรคะ?

คำตอบ: ชะลอความเร็ว ให้ทางรถบัสหรือรถบรรทุกไปก่อนค่ะ
รถใหญ่ใช้พื้นที่ในการเลี้ยวมาก ถ้าเราขับเข้าไปพร้อมกับเขา อาจจะโดนเบียดได้คะ


คำถาม 18: ถ้าเราจะเลี้ยวซ้ายต้องทำอย่างไรบ้างคะ? ต้องระวังอะไรบ้าง?

คำตอบ:
มีสามเหลี่ยมสีขาวที่พื้นถนนบอกว่า เรามีหน้าที่ให้ทาง และทางเส้นที่เราจะเลี้ยวซ้ายเข้าไปเป็นทางเอก และมีทางม้าลายด้วย

จะเลี้ยวซ้ายเราต้องเปิดไฟเลี้ยวซ้ายและมองระวังรถที่มาจากทั้งทางฃ้ายมือ ขวามือ และตรงหน้าเรา ถ้าไม่มีรถมาเราก็ขับออกไปได้เลย แต่ถ้ามีรถมาเราต้องหยุดรอให้รถทุกคันผ่านไปก่อนแล้วเราค่อยเลี้ยวออกไปค่ะ และมองระวังด้วยว่า มีคนจะข้ามถนนหรือไม่


รวบรวมโดย

Yui in Lund, Sweden

 

 

ป้ายจราจร – ถนนหนทางในเมือง

#ป้ายจราจรในเมือง

สวัสดีค่ะ ชุดนี้เป็นป้ายจราจรต่างๆ ในเมืองค่ะ  ถ้าท่านใดมีคำถามข้อสงสัย เราขอแนะนำให้แอดเข้าไปที่กลุ่มในเฟสบุ๊คนะคะ ใบขับขี่สวีเดน Körkort på thai

ข้อแนะนำ
อ่านคำถามและดูภาพประกอบ แล้วลองตอบเองก่อนนะคะ แล้วค่อยอ่านดูแนวคำตอบที่เราลงไว้ให้ค่ะ

2015-12-19 11.37.32

คำถาม 01: ป้ายนี้บอกอะไรคะ? เพราะอะไร?

คำตอบ: ห้ามจอด ห้ามหยุดค่ะ เพราะว่า บดบังทัศนะวิสัย การจราจร และตรงนี้เป็นป้ายรถเมล์พอดีด้วยค่ะ อีกทั้งยังขวางทางเข้าออกอีกด้วยค่ะ
(และป้ายเขียวๆ นั่นเป็นป้ายรถเมล์ค่ะ)


คำถาม 02: จากภาพ ป้ายต่างๆ หมายความว่าอย่างไรบ้างคะ?

ตอบ:
(ป้ายบนสุด) ห้ามยานยนต์ประเภทต่างๆ ผ่าน ยกเว้น รถป๊อบประเภทสองและจักรยานที่ผ่านได้
(ป้ายกลาง) ป้ายนี้ไม่ได้มีผลบังคับใช้กับ รถที่มาส่งของให้แก่ห้างร้านแถวนี้ หรือรถที่มีได้รับอนุญาติให้ผ่าน ถ้าฝ่าฝืนจะโดนปรับ
(ป้ายล่างสุด) และบนถนนเส้นนี้ ต้องขับด้วยความเร็วไม่เกิน 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง


คำถาม 03 : ป้ายเหล่านี้หมายความว่าอย่างไรบ้างคะ?

คำตอบ:
ห้ามยานพาหนะทุกชนิดสัญจรผ่านไปมา
ไม่มีผลบังคับใช้กับ รถจักรยาน
และไม่มีผลบังคับใช้กับ รถขนส่งสินค้า ในวันจันทร์ถึงศุกร์ระหว่างเวลา 06-11 น. และวันเสาร์หรือวันก่อนวันหยุดนักขัตฤกษ์ระหว่างเวลา 06-09 น.
ห้ามหยุดและห้ามจอดบริเวณนี้ ในวันจันทร์ – ศุกร์ ระหว่างเวลา 00-06 น. และ 11-24 น. ในวันเสาร์หรือวันก่อนวันหยุดนักขัตฤกษ์ระหว่างเวลา 00-06 น. และ 09-24 น. และตลอดทั้งวันอาทิตย์หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์


คำถาม 04:
1. ป้ายให้ข้อมูลอะไรเราบ้างคะ?
2. ให้เดาด้วยว่าอยู่ที่ไหน?

ข้อมูลเพิ่มเติมนะคะ ถ้าท่านใดมองไม่ถนัด
ใต้ตัว P มีว่า
– Endast markerade platser
– Avgift 00-24 alla dagar
– LKPAB 046- 355923
ป้ายเหลืองแดงสุดท้าย
– Farthinder

คำตอบ :
1. จำกัดความสูงของรถไม่เกิน 2,0 m เป็นทางเข้า (Infart) ป้ายบังคับให้เลี้ยวขวา
สามารถจอดรถได้เฉพาะที่ที่ตีเส้นให้จอด
ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการจอดทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
ป้ายบอกชื่อและเบอร์โทรของบริษัทผู้ดูแล
ป้ายบอกให้ระวังสิ่งกีดกวางเพราะมีเนินดำเหลืองให้ฉะลอความเร็ว
2. ป้ายพวกนี้อยู่ปากทางเข้าอาคารจอดรถ


คำถาม 05: หมายความว่าอย่างไรบ้างคะ?

คำตอบ: ระวังผิวทางขรุขระ (หรือถนนมีเนินลูกระนาด) สิ้นสุดทางเอก และมีทางจักรยาน


คำถาม 06: ถ้าเราต้องขับรถยนต์ผ่านเข้าไปในเขตที่กำลังมีงานสร้างปรับปรุงถนน เราต้องขับรถอย่างไรคะ? ต้องคำนึงถึงหรือระวังอะไรอย่างคะ?

คำตอบ: คำตอบหลากหมายมากค่ะ แล้วแต่สถานการณ์ตรงนั้น อย่างเช่น

สังเกตุมองป้ายต่างๆ ที่มีมาตั้งเพิ่มเติมแถวนั้นและปฏิบัติตาม ควรขับผ่านด้วยความระมัดระวัง และคำนึงถึงความปลอดภัยของทุกฝ่ายค่ะ

ถ้าไม่มีป้ายกำหนดความเร็วหรือแนะนำความเร็วตั้งไว้ ให้ปรับความเร็วรถให้เหมาะสมกับสถานการณ์และสภาพถนนตอนนั้นค่ะ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุ ถ้ามีป้ายกำหนดหรือแนะนำความเร็วก็ขับตามนั้นหรืออาจจะต้องช้ากว่าทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในขณะนั้นด้วยและเพื่อความปลอดภัยของทุกฝ่าย

ถ้ามีพนักงานคอยให้สัญณาณต่างๆ อยู่ก็ควรให้ความร่วมมือ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของทุกฝ่าย ถ้าไม่มีพนักงานอำนวยความสะดวกในบริเวณนั้น ควรมองระวังพนักงานที่ทำงานอยู่แถวนั้น และมองระวังเครื่องจักรต่างๆ ด้วย

บางกรณีก็ต้องระวังมากและต้องพร้อมที่จะหยุดรถด้วย

(คำตอบอันนี้ ครูสอนขับรถบอกให้ทำตอนเรียนขับรถแและก็จากการขับจริงบนท้องถนนน่ะคะ)


คำถาม 07: ป้ายบอกอะไรคะ? พอเราจะขับออกจากเขตนี้เราจะใช้กฏอะไร? จงอธิบายค่ะ

คำตอบ: สิ้นสุดบริเวณจำกัดความเร็วรถให้เท่ากับการเดิน (E10. Gångfartsområde upphör)
จากภาพเป็นถนนต่อเนื่องไป หลังป้ายก็ขับด้วยความเร็วตามปกติตามที่มีกำหนดไว้ของถนนเส้นนั้น

ถ้าสมมุติว่า พอพ้นป้ายไปแล้วเป็นทางแยก เราต้องให้ทางรถคันอื่นก่อน เพราะจะใช้กฏการออกสู่ถนน หรือ utfartsregeln


คำถาม 08: ถ้าสมมุติว่าเราไปถึงสถานที่เกิดอุบัติเหตุเป็นคนแรกแล้วเจอรถคันนี้จอดอยู่ตรงนั้นด้วยเราจะต้องทำอย่างไรบ้างคะ? จงอธิบายและให้เหตุผลด้วยค่ะ

คำตอบ: มาถึงที่เกิดเหตุคนแรก ก็มองสังเกตการณ์รอบนอกโดยรอบก่อน เพราะอาจเสี่ยงอันตรายค่ะ


คำถาม 09: ป้ายส้มๆ แบบนี้ตั้งอยู่บริเวณไหน? และบอกอะไรเราบ้างคะ?

คำตอบ: ป้ายสีส้มเป็นป้ายตั้งเสริมชั่วคราว และจะตั้งอยู่ก่อนเข้าถึงบริเวณที่มีงานสร้างปรับปรุงถนน
ป้ายบอกว่า ข้างหน้านี้มีการปิดช่องทางเดินรถไปหนึ่งช่องทางแบบชั่วคราว (คือช่องทางด้านขวามือ) และไม่มีช่องทางเดินรถช่องอื่นที่จะใช้แทนในทิศทางการเดินรถนี้ได้

เพิ่มเติม
F26. Körfält avstängt
Märket anger att ett körfält tillfälligt är avstängt och att inget annat körfält i färdriktningen kan användas. Märket är anpassat efter förhållandena på platsen. Avvikelse från färg får inte ske.

ข้อความภาษาสวีเดนจาก https://www.transportstyrelsen.se/sv/vagtrafik/Vagmarken/Lokaliseringsmarken-for-vagvisning/Korfalt-avstangt/


รวบรวมมาฝากเท่านี้ก่อนค่ะ เดี๋ยวมาทำเพิ่มตอนที่ 2 นะคะ

Yui in Lund, Sweden

 

ป้ายจราจรนอกเมือง – ทางหลวง 2

#ป้ายจราจรนอกเมือง_ทางหลวง

มาดูกันต่อเลยค่ะ

ข้อแนะนำ… อ่านคำถามและดูภาพประกอบ แล้วลองตอบเองก่อนนะคะ แล้วค่อยอ่านดูแนวคำตอบที่เราลงไว้ให้ค่ะ

คำถาม 08: เสาสีส้มๆ นี้ ปักไว้ข้างทาง เพื่ออะไรคะ?

คำตอบ:
เสานี้มีชื่อเรียกว่า plogpinne เป็นหลักสีส้มมีรีเฟลกซ์ติดอยู่ด้วย ใช้เป็นเครื่องหมายสำหรับบอกขอบเขตถนน จะมีมาปักไว้ในฤดูหนาว เพราะเวลาหิมะตกมากๆ เราจะได้ทราบว่า ขอบถนนอยู่ตรงไหน ส่วนรีเฟลกซ์บนเสาช่วยให้เรามองเห็นเสานี้ได้ในเวลากลางคืน ซึ่ง plogpinne ช่วยลดความเสี่ยงในการขับออกนอกเส้นทางหรือขับเลยขอบถนนออกไปซึ่งอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้

ถนนในบางเส้นนั้นพื้นที่ถนนกับพื้นที่โดยรอบอยู่ในระดับเดียวกัน ในกรณีที่มีหิมะตกเยอะๆ ปกคลุมขาวไปทั่วก็จะมองยากมากว่าตรงไหนคือทางสำหรับรถวิ่งค่ะ


คำถาม 9 :
จากภาพ ป้ายต่างๆ บอกอะไรเราบ้างคะ?
แล้วเราขับแซงรถคันหน้าได้หรือไม่? เพราะเหตุใด?

คำตอบ:
– ป้ายบอกว่า ด้านหน้านี้มีกล้องตรวจจับความเร็ว ซึ่งถนนนี้วิ่งได้ด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ถ้าขับเกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กล้องก็จะถ่ายรูปแล้วจะมีใบสั่งพร้อมรูปถ่ายของคนขับมาที่บ้าน)
– ป้ายบอกว่า ถึงเขตที่ชื่อ Gullarp
– ณ ตรงนี้เป็นเนินซึ่งทำให้ไม่สามารถมองเห็นรถที่สวนมาและเส้นบนถนนฝั่งที่เราขับมานี้เป็นเส้นทึบ (heldragen linje) จึงขับแซงไม่ได้ เพราะเสี่ยงต่ออันตรายค่ะ

** เพิ่มเติม – สำหรับเวลาหัดขับรถ **

– ที่ครูเคยสอนมาเวลาขับจริงต้องมองมากกว่านี้นะ มองรถคันหน้าด้วย มองกระจกหลังด้วยว่ามีรถตามมาใกล้หรือไกลอย่างไร เพราะด้านหน้าทางขวามือมีป้าย STOP มีทางแยก พอใกล้ๆ กับทางแยกรถคันนี้อาจจะตีไฟเลี้ยวขวา แล้วเบรกลดความเร็วลงเพื่อเลี้ยวเข้าหมู่บ้าน ซึ่งเราก็ต้องพร้อมที่จะเบรกลดความเร็วลงด้วยถ้าจำเป็น และควรทิ้งระยะห่างจากรถคันหน้าให้เหมาะสม (ตามที่ในหนังสือได้แนะนำไว้ค่ะ) ไม่ควรขับใกล้รถคันหน้าจนเกินไป เพราะถ้าใกล้เกินไป ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นกระทันหันเราจะเบรกไม่ทันและอาจเกิดอุบัติเหตุได้

เคยหัดขับกับผู้มีประสบการณ์ … ตอนเราขับใหม่ๆ เขาจะถามว่าตอนนี้เรามองตรงไหนอยู่บ้าง? เราก็มองไม่ไกล เช่นจากภาพนี้ นอกจากมองด้านหน้า มองกระจกหลัง ประคองรถ เราก็มองเห็นแค่ป้ายความเร็ว ป้ายกล้อง และป้ายชื่อหมู่บ้าน แต่คนที่ขับมานานเขามองไปถึง ป้าย STOP ตัวกล้อง และป้ายที่บอกว่า ระวังหมูป่าวิ่งตัดถนน โน่นแล้ว และที่ป้าย STOP เป็นทางแยกเขาก็มองไปว่า มีรถมาจอดหรือป่าว พร้อมกับมองกระจกหลังว่ามีรถมาด้านหลังหรือป่าว ถ้ามีรถจอดอยู่ตรงทางแยกนั้นก็ต้องระวังเพราะบางคันอาจจะพุ่งออกมาก็ได้ ซึ่งเราต้องพร้อมเบรกเพื่อลดความเร็ว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตราาย และถ้ามีรถมาด้านหลังเรา เราควรเบรกมากน้อยแค่ไหนเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ คือเขามีแผนพร้อมรับกับสถานการณ์ต่างๆ ไว้ในหัวแล้ว เขาบอกว่า ต้องอาศัยจินตนาการช่วยด้วย ซึ่งช่วยทำให้เราแก้สถานการณ์หรือตัดสินใจได้ดีขึ้นมาก ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ดีมากขึ้น … ตอนหัดขับใหม่ๆ เราก็ โห…ขนาดนั้นเลยหรือ แต่เราก็ค่อยๆ ฝึกไปค่ะ ซึ่งต่อมาเป็นประโยชน์มากในท้องถนนจริงๆ ค่ะ

– ข้อดีของการมองไกลๆ คือ เราจะได้เห็นทางข้างหน้าว่าเป็นอย่างไร จะได้วางแผนล่วงหน้าในการขับได้ดี ถ้ามีอะไรผิดสังเกตุเกิดขึ้นด้านหน้า เราจะได้ตั้งตัวทันและรู้ว่าจะทำอย่างไรต่อไป ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของเราเองและเพื่อนร่วมทาง

– ข้อดีของการมองกระจกหลังบ่อยๆ ….. ที่โรงเรียนสอนให้มองทุก 7 วินาที (เราเองคิดว่าบ่อยไปป่าว? เวียนหัวตาลายเลยตอนแรก เพราะไหนจะมองทาง ประคองรถ ตัดสินใจ เปลี่ยนเกียร์ นั่นนี่) ก็พยายามฝึกไปเรื่อยๆ หลังๆ มาก็จะชินเอง …. การมองกระจกหลังบ่อยๆ ช่วยในการวางแผนหรือตัดสินใจของเราได้เป็นอย่างดี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ หรือเวลารถฉุกเฉินมาไกลๆ เขาแค่เปิดไฟให้สัญญาณ เราจะไม่ได้ยิน ถ้าเรามองกระจกบ่อยๆ เราจะเห็นแต่เนิ่นๆ และสามารถวางแผนเพื่อให้ทางได้ทันเวลาและอย่างปลอดภัยค่ะ


คำถาม 10:
ขับมาถึงตรงนี้ ป้ายบอกอะไรเราบ้าง? เราต้องทำอย่างไร? และระวังอะไรบ้าง? (มีรถบรรทุกคันโตมาข้างหน้าด้วยนะคะ ขาวๆ น่ะค่ะ)

คำตอบ:
ป้ายเตือนให้ระวังว่า ข้างหน้ามีทางโค้งขวา
ถนนเส้นนี้จำกัดความเร็วไม่เกิน 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
มีรถบรรทุกคันโตสวนทางมาข้างหน้า ให้ขับเข้าโค้งอย่างระมัดระวังและควรขับชิดขวาไว้จะดีกว่า
ตอนเข้าโค้งก็ปล่อยคันเร่ง แล้วประคองรถไปตามโค้ง พอตอนกำลังจะออกจากโค้งก็เริ่มเหยียบคันเร่งอีกครั้งแล้วขับต่อไป

เพิ่มเติม
สาเหตุที่ควรขับชิดขวาก็คือ จะได้ไม่พลาดไปเบียดรถบรรทุก เช่น ในกรณีถนนลื่น เราขับมาเร็วแล้วลดความเร็วลงไม่เหมาะสมในตอนเข้าโค้งรถอาจเหวี่ยงไถลไป หรือโดนรถบรรทุกเบียดถ้าเขาเกิดใช้พื้นที่บนถนนเยอะหรือเขาเลี้ยวแล้วกินทางมาฝั่งเราค่ะ

สาเหตุที่ต้องปล่อยคันเร่ง เพราะเวลาเข้าโค้งเราควรลดความเร็วลงหน่อย เพื่อให้สามารถประคองรถไปตามโค้งได้ง่ายขึ้น(โดยเฉพาะมือใหม่หัดขับ) รถจะได้ไม่เหวี่ยงไถลไปอีกฝั่งถ้าถนนลื่น


คำถาม 11 : ป้ายบอกอะไรคะ? ขับมาถึงตรงนี้แล้ว จะต้องระวังอะไร? ทำอย่างไรบ้าง?

คำตอบ : ป้ายเตือนว่า ระยะทางอีกประมาณ 150-200 เมตรข้างหน้ามีทางข้ามทางรถไฟแบบมีที่กั้น แต่ถึงแม้ว่าจะมีที่กั้นบางทีมันอาจจะไม่ทำงานก็ได้ ฉะนั้น เราต้องขับข้ามทางรถไฟไปอย่างระมัดระวังเสมอ โดยการที่มองซ้ายขวาให้ดีก่อนที่จะขับข้ามทางรถไฟไป


คำถาม 12: กรณีไหนที่เราจะจอดรถและหันล้อรถแบบนี้? เพื่ออะไร?

คำตอบ: จอดรถบนทางลงจากเนิน (Nedförsbacke) เผื่อมีอะไรผิดพลาดรถก็จะไหลเข้าหาขอบถนน ไม่ไหลไปใส่รถคนอื่น


คำถาม 14 : เครื่องยนต์รถดับบนทางรถไฟ เราทำอย่างไรได้บ้าง?
1. รถเกียร์กระปุก
2. รถเกียร์ออโต้

คำตอบ :

ถ้าเครื่องยนต์รถดับบนทางรถไฟ เราต้องย้ายรถออกจากทางรถไฟโดยเร็วที่สุด

ถ้ารถยังสามารถสตาร์ทได้ ก็รีบสตาร์ทรถแล้วขับต่อไป

แต่ถ้า ณ ตอนนั้นรถดับและติดอยู่ในแผงกั้น ให้ขับชนแผงกั้นออกมา เพราะแผงกั้นนั้นออกแบบและทำด้วยวัสดุที่ทำให้เราขับผ่าออกมาได้

ถ้ารถสตาร์ทไม่ติด ควรทำดังนี้
1. รถเกียร์กระปุก ให้ใช้ “มอเตอร์สตาร์ท” … ใส่เกียร์ 1 ปล่อยคลัช บิดกุญแจสตาร์ทเครื่องค้างไว้ รถจะกระตุกไปข้างหน้า (วิธีอาจจะใช้ไม่ได้กับรถทุกคันนะคะ)
2. รถเกียร์ออโต้ ให้ลงจากรถมาดันย้ายรถออกไป … ใส่เกียร์ว่าง แล้วออกมาดันรถออกจากทางรถไฟ

* ถ้าย้ายรถออกจากทางรถไฟไม่ได้ ให้รีบโทรแจ้งที่เบอร์ฉุกเฉิน 112 เพื่อแจ้งว่า เครื่องดับอยู่ตรงไหน อย่างไรค่ะ ทางเจ้าหน้าที่จะได้ติดต่อประสานงานเพื่อแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่รถไฟต่อไป


รวบรวมไว้โดย

Yui in Lund, Sweden

 

 

ป้ายจราจรนอกเมือง – ทางหลวง

#ป้ายจราจรนอกเมือง_ทางหลวง

สวัสดีค่ะ สมัยเราทำใบขับขี่เราชอบถ่ายรูปมาแล้วก็ถาม-ตอบเอง อันไหนไม่ได้ก็จะเอาไปถามครูหรือพี่ที่รู้จักกันค่ะ สนุกดี ได้ความรู้บนท้องถนนจริงๆ ไปด้วย ได้ทบทวนที่อ่านมาจากหนังสือด้วย  และที่สำคัญเป็นการเตรียมตัวสำหรับการสอบได้ดีมากๆ ค่ะ

เราก็รวบรวมนำไปลงไว้ที่ กลุ่มในเฟสบุ๊คที่ชื่อ ใบขับขี่สวีเดน Körkort på thai แล้วตอนนี้ก็เลยนำมาลงที่นี่ด้วยค่ะ

ข้อแนะนำ… อ่านคำถามและดูภาพประกอบ แล้วลองตอบเองก่อนนะคะ แล้วค่อยอ่านดูแนวคำตอบที่เราลงไว้ให้ค่ะ

คำถาม 01: ป้ายนี้หมายความว่าอย่างไรคะ?

คำตอบ: ถ้าขับไปตามเส้นทางนี้คุณก็จะไปเข้าสู่ถนน E22 และ E6 ได้ (หรือ ถนนเส้นนี้จะนำไปสู่ถนน E22 และ E6)


คำถาม 02: ป้ายเหลืองขอบแดงที่ท้ายรถบรรทุก DSV บอกว่ารถนี้เป็นรถประเภทใด?

คำตอบ: ป้ายดังกล่าวนั้นเป็น Reflex på släp med totalvikt över 3,5 ton (รีเฟลกซ์สำหรับยานพาหนะพ่วงที่มีน้ำหนักรวมมากกว่า 3.5 ตัน)

เพิ่มเติม
รถประเภทนี้วิ่งได้สูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทั้งบนทางหลวงนอกเมือง และมอเตอร์เวย์ (Landsväg, motorväg & motortrafikled)

คำถาม 03: จากภาพ ป้ายลักษณะแบบนี้มีชื่อเรียกว่าอะไร? และป้ายทั้งหมดบอกอะไรเราบ้าง?

คำตอบ: ป้ายลักษณะนี้มีชื่อเรียกว่า Lokaliseringsmärken ซึ่งเป็นป้ายที่ใช้สำหรับบอกทางไปยังเมือง และสถานที่ต่างๆ

ป้ายทั้งหมดให้ข้อมูลดังต่อไปนี้
– บนถนนเส้นนี้ขับได้ 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
– ถ้าขับตรงไป บนถนนหมายเลข 17 เป็นทางไป ESLÖV
– ถ้าขับตรงไป บนถนนหมายเลข 108 เป็นทางไป RÖSTÅNGA
– ถ้าเลี้ยวซ้ายตรงทางแยก จะเป็นทางไป Åkarp แต่บนถนนเส้นนี้ อาจจะไม่มีป้ายจราจรที่สำคัญ ๆ บอก หรือ อาจจะขาดป้ายจราจรต่าง ๆ เป็นได้ เพราะเป็นทางส่วนบุคคล (Enskild väg)
– ถ้าเลี้ยวขวาตรงทางแยก จะเป็นถนนหมายเลข 108 ซึ่งเป็นทางไป KÄVLINGE และ MARIEHOLM ค่ะ


คำถาม 04: เราขับรถมาบนถนนความเร็ว 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
มาเจอป้ายนี้ ป้ายบอกอะไรเราคะ? เราควรจะทำอย่างไรต่อไป?

คำตอบ: ป้ายนี้บอกว่า อีก 200 เมตร จะเข้าสู่เขตความเร็วไม่เกิน 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

พอเห็นป้าย เราก็เริ่มวางแผนลดความเร็วลงด้วยเทคนิค motorbroms ด้วยการปล่อยคันเร่ง ถ้ามีรถวิ่งตามมาข้างหลังควรแตะเบรกนิดๆ เพื่อบอกรถคันข้างหลังว่าเราเริ่มลดความเร็วลงแล้ว บางกรณีจำเป็นต้องเหยียบเบรกช่วยลดความเร็วลงด้วย (เช่น กำลังลงจากเนิน) แล้วก็ลดเกียร์ลงให้เหมาะสมด้วย


คำถาม 05: ขับรถมาเจอตรงนี้ มีป้ายและไฟเหลืองกระพริบวิ้งๆ
ป้ายบอกอะไรเราบ้างคะ? ทำไมต้องมีไฟกระพริบเหลืองๆ ด้วย? เราต้องทำอย่างไรบ้างก่อนข้ามทางรถไฟไป?

คำตอบ:
– เป็นป้ายเตือนว่า นับจากป้ายไปอีก 50 เมตรเป็นทางข้ามทางรถไฟแบบไม่มีเครื่องกั้น
มีไฟเหลืองกระพริบด้วยเพื่อเน้นย้ำให้ขับข้ามทางรถไฟอย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ ก่อนจะขับข้ามไปควรมองซ้ายและขวาให้แน่ใจเสียก่อน ถ้าไม่มีรถไฟมาก็ให้ขับข้ามทางรถไฟไปได้เลย แต่ถ้าเห็นรถไฟมาหรือได้ยินเสียงรถไฟก็ควรหยุดให้รถไฟผ่านไปก่อน

เพิ่มเติม ถ้าวิสัยทัศน์ ณ ตรงนั้นไม่ดี (มีต้นไม้ หรือมีบ้านบดบัง) เราควรหยุดรถเพื่อมองดูซ้ายและขวา หรือฟังเสียงรถไฟก่อน เมื่อแน่ใจว่าไม่มีรถไฟมาแล้วจึงขับข้ามทางรถไฟไปค่ะ


คำถาม 06:
1. ป้ายสีน้ำเงินทั้งหมดนั่นมีชื่อเรียกว่าอะไรและบอกอะไรเราบ้าง?
2. และถ้าเราจะไป Remmarlöv ต้องวางแผนการขับอย่างไรบ้าง?

คำตอบ:
1. ป้ายลักษณะนี้อยู่ในป้ายประเภท Lokaliseringsmärken ซึ่งเป็นป้ายที่ใช้สำหรับบอกทางไปยังเมืองและสถานที่ต่างๆ และมีชื่อเรียกว่า F6. Tabellvägvisare ซึ่งเป็นป้ายหลายๆ อันเรียงกันเพื่อใช้บอกทางและจะตั้งอยู่ก่อนถึงทางแยกหรือวงเวียนเล็กน้อย (ตั้งอยู่ใกล้ๆ ทางแยกหรือวงเวียน) หรือตั้งอยู่ตรงทางออกจากวนเวียน

ป้ายแรกสีขาว บอกว่าเลี้ยวซ้ายไปจะถึงร้าน Djur & Natur
ป้ายที่ 2 บอกว่าเลี้ยวซ้ายตรงแยกแล้วขับไปอีก 3 ก.ม. จะถึง Remmarlöv
ป้ายที่ 3 บอกว่าเลี้ยวขวาตรงแยกแล้วขับไปอีก 6 ก.ม. จะถึง Trolleholm
ป้ายที่ 4 บอกว่าเลี้ยวขวาตรงแยกแล้วขับไปอีก 3 ก.ม. จะถึง v strö
ป้ายที่ 5 บอกว่าเลี้ยวขวาตรงแยกนี้จะถึง Trollenäs
ป้ายที่ 6 บอกว่าเลี้ยวขวาตรงแยกนี้จะถึงที่พัก Bed & Breakfast

เพิ่มเติม – ป้ายสีฟ้า เป็นป้ายบอกจุดหมายปลายทาง ส่วนป้ายสีขาว บอกจุดหมายปลายทางในท้องถิ่นนั้นๆ

2. ส่วนถ้าเราจะไป Remmarlöv ก็ต้องเริ่มวางแผนเพื่อเลี้ยวซ้ายแต่เนิ่นๆ มองกระจกหลัง เปิดไฟให้สัญญาณเลี้ยวซ้าย แล้วเตรียมเลี้ยวเข้าช่องสำหรับเลี้ยวซ้าย ลดความเร็วลงด้วยการปล่อยคันเร่ง เบรกเบาๆ และมองกระจกหลัง
จากภาพนี้ไม่มีรถสวนมา เลี้ยวเข้าช่องสำหรับเลี้ยวซ้ายแล้วเบรกชะลอความเร็วลงให้เหมาะสม ลดเกียร์ลงให้เหมาะสมกับความเร็ว แล้วเลี้ยวซ้ายไป (ต้องปล่อยคลัชให้หมดก่อนที่จะเลี้ยวนะคะ)
แต่ถ้าจังหวะนั้นมีรถสวนมาก็หยุดรถก่อน พร้อมใส่เกียร์ 1 รอไว้ เมื่อรถผ่านไปหมดแล้วก็เลี้ยวซ้ายไป


ป.ล. ท่านใดมีอะไรเสริมเพิ่มเติมหรือแก้ไขเขียนมาได้เลยนะคะ ตอนเขียนคำตอบข้อ 2 นี่ก็พยายามนึกหนักมากว่าตนเองขับอย่างไร 🤣


คำถาม 07: ป้ายเหล่านี้หมายความว่าอย่างไรบ้าง?

คำตอบ: ป้ายเตือนให้ระวังอันตรายสำหรับรถ maskintrailer ถ้าเลี้ยวขวาเข้าไปในถนนตรงทางแยกด้านหน้านี้ อาจจะเสี่ยงต่อการที่ท้องรถของรถลากประเภทนี้ติดบนทางรถไฟค่ะ (เพราะถนนเส้นนี้มีทางรถไฟตัดผ่านค่ะ)

(maskintrailer เราไม่รู้ว่าที่เมืองไทยเรียกอะไรนะคะ ลองค้นหาดูรูปดูกันเองนะ มันจะเป็นรถพ่วงใช้ลากของและเป็นรถที่มีท้องรถต่ำๆ น่ะค่ะ)


 

// Yui in Lund, Sweden

 

การอ่านป้ายจราจร ตอน 2

ตอนนี้เป็นตอนที่ 2 ค่ะ ก็นำมาฝากอีกตัวอย่างนะคะ

ป้ายบอกอะไรบ้างคะ?

p-skiva-tider

 

เวลาอ่านป้ายให้เราอ่านจาก

“ซ้ายไปขวา และจากบนลงล่าง
และอ่านให้ครบทุกป้าย”

 

p-skiva-tider-2

 

อ่านได้โดยตรงจากป้ายได้ดังนี้ค่ะ

1 ป้ายอนุญาตให้จอดรถได้
2 และต้องจอดรถในช่องที่ตีเส้นไว้ให้
3 และต้องใช้แผ่นที่จอดรถตั้งเวลาเริ่มจอด (p-skriva)
4 จอดได้มากสุด 2 ชั่วโมงต่อครั้ง
5 มีผลบังคับใช้วันจันทร์-วันศุกร์ ระหว่างเวลา 9-18 น.
6 และวันเสาร์หรือวันก่อนวันหยุดนักขัตฤกษ์ ระหว่างเวลา 9-14 น.
และนอกเหนือวันและเวลาดังกล่าวจอดได้มากกว่า 2 ชั่วโมง

 


 

– ควรจำให้ได้ด้วยว่า p-skriva มีข้อกำหนดในการใช้อย่างไร
– ลองไปค้นในเนตดู p-skriva ที่เมืองไทยเรียกว่า “แผ่นที่จอดรถนาฬิกาตั้งเวลา”

 


 

เพิ่มเติมเพื่อการนำไปปรับประยุกต์ใช้ในการอ่านหนังสือสำหรับสอบข้อเขียนและฝึกทำแบบฝึกหัดต่างๆ ค่ะ

—> จากที่เราตอบด้านบนนี้เป็น “ข้อมูลตรงๆ ที่ได้จากป้าย” แต่ในรูปนี้ยังมีอีกหลากหลายแง่มุมที่สามารถนำไปใช้ในการตั้งคำถามได้อีกหลายข้อค่ะ ลองมาคุยกันเล่นๆ ดูสักหน่อย

กรณี 1 – ถ้าเรามาถึงที่ตรงนี้ก่อนเวลาที่มีผลบังคับใช้ เช่น 8.00 น. และคิดว่าต้องจอดอยู่จนเลยเวลาที่เริ่มมีผลบังคับใช้ เช่น กะว่าเสร็จธุระสัก 10.00 น. เราก็ตั้งป้ายไว้ที่ 9.00 น. และวางไว้หน้ารถได้เลย (ถ้าไม่ทำ ก็มีสิทธิ์โดนปรับถ้าคนดูแลที่จอดรถเดินมาตรวจตอนหลัง 9.00 น. เพราะเราไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่ได้วางไว้)

กรณี 2 – ถ้าเรามาถึงที่ตรงนี้ก่อนเวลาที่มีผลบังคับใช้ เช่น 8.00 น. และคิดว่าต้องทำธุระนานเลยเวลาที่เริ่มมีผลบังคับใช้และเกิน 2 ชั่วโมง เช่น กะว่าเสร็จธุระสัก 12.00 น. เราก็ตั้งป้ายไว้ที่ 9.00 น. และวางไว้หน้ารถได้เลย และตอน 11.00 น. ต้องมาย้ายตำแหน่งที่จอดรถ และตั้งเวลาเริ่มจอดใหม่ที่ 11.00 น. (ถ้าไม่มาย้าย ก็จะโดนใบสั่งปรับถ้าคนดูแลที่จอดรถมาเจอ เพราะว่าเราจอดอยู่ที่เดิมนานเกิน 2 ชั่วโมง)

กรณี 3 – ถ้าจอดวันอาทิตย์จอดได้นานเท่าไหร่ … ก็ตอบว่า นานกว่า 2 ชั่วโมงโดยไม่ต้องวางแผ่นตั้งเวลาเริ่มจอด แต่ถ้าจะจอดแบบนานข้ามคืนก็ต้องเลื่อนรถตอนอย่างช้าที่สุดตอน 9.00 น. ของวันจันทร์ แต่ถ้าวางแผ่นจอดที่ตั้งเวลาไว้ที่ 9.00 น. ไว้หน้ารถแล้ว เราต้องเลื่อนรถอย่างช้าที่สุดตอน 11.00 น. ของวันจันทร์

กรณี 4 ถ้ามาจอดหลังเวลาที่กำหนดในวันธรรมดา (จ – ศ) จอดได้นานเท่าไหร่ …. จอดได้นานกว่า 2 ชั่วโมง และไม่ต้องวางแผ่นตั้งเวลาเริ่มจอด ถ้าจะจอดแบบนานๆ ข้ามคืนก็จอดได้ถึง 9.00 น.ของวันถัดไปโดยไม่ต้องวางแผ่นตั้งเวลาเริ่มจอด แต่ถ้าวางแผ่นจอดและตั้งเวลาไว้ที่ 9.00 น. ก็ต้องเลื่อนรถตอน 11.00 น. ของวันถัดไป

กรณี 5 ถ้ามาจอดหลังเวลาที่กำหนดในวันเสาร์ จอดได้นานเท่าไหร่ …. จอดได้นานกว่า 2 ชั่วโมง และไม่ต้องวางแผ่นตั้งเวลาเริ่มจอด ถ้าจะจอดแบบนานๆ ข้ามคืนก็จอดได้ถึง 9.00 น.ของวันจันทร์โน่นเลย แต่ถ้าวางแผ่นจอดที่ตั้งเวลาไว้ที่ 9.00 น. ไว้หน้ารถแล้ว เราต้องเลื่อนรถอย่างช้าที่สุดตอน 11.00 น. ของวันจันทร์

– และกรณีอื่นๆ (ถ้ามี)


 

นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เรานำมาเล่าสู่กันฟังค่ะ ก็เพื่อใช้ในการแนะนำในการฝึกมองรูปมองป้ายที่อาจจะมีมากับคำถาม นอกจากอ่านป้ายได้แล้ว กฏระเบียบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับป้ายกับสัญลักษณ์ต้องแม่นด้วยค่ะ เพราะอาจจะเป็นส่วนที่เขาเอามาตั้งคำถาม หรือมาเขียนหลอกไปมาในตัวเลือก

เอาล่ะค่ะ พอและ แค่นี้แหละ เราก็ไม่ได้เก่งกาจอะไรมาจากไหน แต่ก็ลองวิเคราะห์เล่าสู่กันฟังดู

นี่จะบอกว่า เรานั่งมองภาพประกอบนี้เองแล้วก็วิเคราะห์เล่าสู่กันฟังเองก็ยังจะงงเองเลย ฮ่าๆ ๆ ออกแนวไม่มั่นใจอ่านวนอยู่หลายรอบว่า ถูกป่าว … เราจำความได้ว่า ตอนฝึกทำข้อสอบในอินเตอร์เนตก็ตรงๆ ตามป้ายตามภาพ แต่พอไปสอบจริง โจทย์ในบางส่วนมันทำไมดูสลับซับซ้อนซ่อนเงื่อนไปหมด ไหนจะต้องแข่งกับเวลา เวลาก็หมดไปๆ ใจก็เต้นตุ๊บๆ ตื่นเต้นขึ้นอีก …. กว่าจะอ่านจบ กว่าจะลังเลเสร็จ กว่าจะตัดสินใจเลือกคำตอบได้ หมดเวลาไปหลาย  … ไหนจะความคาดหวังที่ตั้งไว้ว่า ต้องผ่าน อีก … หายใจไม่ทั่วท้องเลยทีเดียวค่ะ


 

การอ่านหนังสือแล้วทำความเข้าใจและจำได้ช่วยให้เราตอบคำถามต่างๆ ได้ส่วนหนึ่ง

การฝึกทำข้อสอบบ่อยๆ ช่วยให้เราได้ฝึกดึงความรู้ความเข้าใจจากที่ได้อ่านออกมาเพื่อใช้ตอบคำถามในรูปแบบต่างๆ ทำบ่อยๆ จะเจอโจทย์ในหลากหลายรูปแบบ และวนมาซ้ำเดิม ทำบ่อยๆ แล้วจะจำได้ และคิดพิจารณาหาคำตอบได้อย่างรวดเร็ว แรกๆ ที่ทำจะใช้เวลานานมากในการคิด ต่อๆ มาเริ่มเข้าใจสิ่งต่างๆ มากขึ้นก็ตอบได้ไวขึ้น

นอกจากอ่านหนังสือและทำแบบฝึกหัดแล้ว ก็ยังมีพวกวิดีโอต่างๆ ที่เราสามารถเข้าไปดูได้ การดูวิดีโอช่วยให้เราเห็นภาพ และเข้าใจเรื่องต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น และเป็นการทบทวนที่เราอ่าน และยืนยันว่าเราเข้าใจตรงกับที่หนังสืออธิบายหรือไม่ เป็นต้น … ช่วยให้จำได้และเข้าใจหัวข้อต่างๆ มากมายหลากหลายยิ่งขึ้น

การอ่านการศึกษาต้องใช้เวลาค่ะ ถ้าถามตัวเองว่า วันแรกกับวันนี้เป็นยังไง แรกๆ ที่ขับยังไม่ค่อยเข้าใจอะไรมาก งงๆ เอ๋อๆ ไม่มั่นใจเวลาขับ ตัดสินใจไม่ได้บ้าง ช้าบ้าง โน่นนี่นั่น … วันเวลาผ่านไปเริ่มมีประสบการณ์มากขึ้นๆ … ณ วันนี้ก็ขับได้อย่างมั่นใจ ผิดกันอย่างกับคนละคนเลยทีเดียว

 

 

โชคดีๆ กันทุกๆ คนนะคะ

ยุ้ยค่ะ

 

Datumparkeringszon

ก็ได้ภาพและคำถามมาจากคุณ Kanokon Kontong ค่ะ ซึ่งมาถามในห้องใบขับขี่ แล้วเราก็เลยไปลองช่วยตอบ และเห็นว่าน่าสนใจสำหรับการเรียนรู้ เลยไปขออนุญาตนำรูปมาลงในบล๊อกเราด้วย ลองอ่านกันดูค่ะ

อยากถามว่าป้ายนี้มีหมายถึงอะไรคะ?

datumparkering2
ขอลองตอบตามนี้นะคะ

ป้ายทั้งหมดมีชื่อว่า “Datumparkeringszon”

1. Områdesmärke (E20) บอกว่า ข้อกำหนดที่อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมพื้นเหลืองขอบแดงนี้มีผลบังคับใช้ทั้งเขตพื้นที่
– ป้ายสี่เหลี่ยมพื้นเหลืองกรอบแดงแล้วมีป้ายอื่นๆ อยู่ด้านในแบบนี้ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ปากทางเข้าเขตพื้นที่ และมีผลบังคับใช้ทั้งเขตพื้นที่ไปจนถึงที่ที่มีป้ายบอกสิ้นสุดเขตที่มีผลบังคับใช้ (Slut på område หรือ E21) หรือป้ายที่บอกว่าข้อกำหนดเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น

2. Datumparkering (C38) ป้ายห้ามจอดโดยดูจากวันที่และฝั่งเลขที่บ้าน
– วันคู่ ( 2 4 6 … ) ห้ามจอดรถบนถนนทางฝั่งที่มีเลขที่บ้านเป็นเลขคู่
– วันคี่ (1 3 5 …) ห้ามจอดรถบนถนนทางฝั่งที่มีเลขที่บ้านเป็นเลขคี่

3. และข้อบังคับนี้มีผลบังคับใช้ในวันจันร์ – ศุกร์ ระหว่างเวลา 00.00 – 16.00 น.

4. และในระหว่างวันที่ 1 พ.ย. – 1 มิ.ย.

นอกเหนือวันและเวลาดังกล่าว กฏระเบียบนี้ไม่มีผลบังคับใช้ค่ะ

 

สรุปสั้นๆ

เขตพื้นที่ห้ามจอดโดยดูจากวันที่และฝั่งเลขบ้าน (วันคู่ ห้ามจอดฝั่งเลขที่บ้านคู่ วันคี่ ห้ามจอดฝั่งเลขบ้านคี่) ในวันจันร์ – ศุกร์ ระหว่างเวลาเที่ยงคืน ถึง 4 โมงเย็น ระหว่างวันที่ 1 พ.ย. – 1 มิ.ย. (ป้ายนี่มีผลบังคับไปจนกว่าจะถึงป้ายบอกสิ้นสุด)

ถ้ามีอะไรไม่ถูกต้องก็แนะนำได้นะคะ
ขอบคุณคุณ Kanokon Kontong ที่ถ่ายรูปมาถามเพื่อให้ได้แลกเปลี่ยนความรู้กันค่ะ

 


 

ทบทวนเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ

ติวใบขับขี่ Datumparkering – swedish4thai


 

ใบขับขี่สวีเดน Körkort på thai