*** เห็ดพิษร้ายแรงถึงตาย ***
ชื่อสวีเดน Lömsk flugsvamp ชื่อนอร์เวย์ Grønn fluesopp
ชื่ออังกฤษ The Death cap ชื่อวิทยาศาสตร์ Amanita phalloides
ลักษณะเห็ด
- หมวกเห็ดมีขนาด 5-12 ซม. ฝาของหมวกจะแตกต่างกันออกไปตั้งแต่สีขาวหรือเขียวทั้ง
- ดอก หรืออาจมีสีเทาและสีน้ำตาลไล่โทนสี
- ครีบเห็ดมีสีขาว
- ก้านเห็ดมีวงแหวนบางๆ แต่ก็เสมอไป
- ส่วนล่างของก้านเห็ดบวม
แหล่งที่พบ
- เห็ดเดธแค็ปเติบโตในป่าไม้ผลัดใบ ป่าผสม (ต้นไม้ผลัดใบและต้นสนเจริญเติบโตด้วยกัน) และขึ้นตาม ต้นบีช โอ๊ค และต้นไม้จำพวกเฮเซล
ผลและอาการของพิษ
- พิษจะมีฤทธิ์ทำลายตับ อาจเกิดอาการท้องเสีย ถ่ายเป็นน้ำ คลื่นไส้อาเจียน หลังจากบริโภคเห็ดเข้าไปแล้วหลายชั่วโมง อาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อตับ พิษอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
ประเทศสวีเดนโทร 112 (บริการตลอด 24 ชั่วโมง) ในกรณีฉุกเฉินเพื่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับพิษ
โทร 010-456 6700 ในกรณีที่ไม่ใช่เหตุเร่งด่วน
นำมาจากเอกสาร “เห็ดที่เป็นพิษมากที่สุดในสวีเดน!”
ของ Swedish Poisons Information Centre โดยความร่วมมือกับ Swedish Mushroom Consultants’ Association, http://www.gic.se
– https://giftinformation.se/servicemeny/in-english/mushroom-brochure/
Death cap – Amanita phalloides
(ภาษานอร์เวย์: Grønn fluesopp)
ลักษณะของเห็ด
- สีของหมวกมีทั้งสีเขียวไปจนถึงน้าตาลและเหลือง
- ครีบและก้านเป็นสีขาว
- ก้านเห็ดจะมีวงแหวน
- – ด้านล่างสุดของก้านมีถุงหุ้มอยู่ด้วย
* เห็ดชนิดนี้พบได้ยากในนอร์เวย์
ความเป็นพิษ
- การบริโภคเห็ดนี้แม้เพียงปริมาณเล็กน้อยก็อาจทำให้เกิดพิษรุนแรงได้ หลังเวลาผ่านไปอย่างน้อย 6 ชั่วโมง อาจเกิดอาการ เช่น ท้องเสีย ถ่ายเหลว ปวดเกร็งที่ท้อง และอาเจียน อาจส่งผลต่อตับอย่างรุนแรงและเป็นอันตรายต่อชีวิตภายใน 2-3 วัน
หากสงสัยว่าได้ร้ับพิษ กรุณาติดต่อศูนย์ข้อมูลพิษวิทยาของนอร์เวย์ผ่านสายด่วนให้บริการฉุกเฉินตลอด24 ชั่วโมง
Norwegian Poison Information Centre
โทร: 22 59 13 00 (บริการฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง)
นำมาจากเอกสาร “เห็ดพิษในนอร์เวย์” ของ ศูนย์ข้อมูลพิษวิทยาของนอร์เวย์
ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเห็ดพิษชนิดนี้ด้วยตนเองได้อีกที่
ภาษาสวีเดน
– http://svampguiden.com/art/visa/amanita_phalloides
ภาษาอังกฤษ
– http://www.mushroomexpert.com/amanita_phalloides.html
– http://bayareamushrooms.org/mushroommonth/amanita_phalloides.html
One thought on “Lömsk flugsvamp – Amanita phalloides”